ศิลปะเด็ก หรือที่โชว์ผลงานของผู้สอน

ศิลปะเด็ก หรือที่โชว์ผลงานของผู้สอน

อยากเขียนเรื่องนี้มานาน แต่ก็ลังเลมาตลอดเพราะไม่อยาก cause a drama
แต่มาคิดดูอีกที อืม ก็ไม่เห็นจะเป็นไร ถ้าบทความนี้จะเป็นประโยชน์หรือทำให้พ่อแม่หรือคุณครูฉุกคิดอะไรได้บ้าง ก็น่าจะดีไม่ใช่เหรอ
เพราะจริงๆแล้วการดีเบตคือสิ่งที่ดี

เอาละเริ่ม! (ใคร closed minded กรุณาเลื่อนผ่านนะคะ อ่านไปก็เสียเวลาคุณเปล่าๆ) ทักท้วงได้ เห็นต่างได้ แต่ค้านแบบหัวชนฝานี่ ก็ได้อีกเช่นกันค่ะ

ศิลปะเด็กในยุค 2021

เราเป็นเด็กยุค 90s ค่ะ คือเกิดปลาย 80s
มีความสนใจด้านศิลปะ และจบปริญญาด้านศิลปะมา เพราะฉะนั้นหัวข้อนี้น่าสนใจมากๆสำหรับเรา

เมื่อปลายปีรูปนี้ได้ถูกแชร์อย่างกว้างขวาง ในกลุ่มคุณครู และกลุ่มโฮมสคูลที่เมกาและแคนนาดา
เราไม่แน่ใจว่าเคยมีคนพูดถึงเรื่องนี้ไปรึยัง ห้องนี้เป็นห้องเดียวที่เราตามเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาที่ไทย
และเห็นผ่านตาเยอะพอสมควรที่คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกๆทำกิจกรรมศิลปะแบบ “Pinterest” Art / Activities

ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลย เราก็ใช้ Pinterest บ่อยมากๆ ทั้งเสพงานใหม่ๆ หรือหากิจกรรมให้ลูกชายทำ

ก่อนอื่นเลย เราไม่ใช่เซียน เราต้องการแค่มาแชร์ความเห็นของเราและอัพเดทความเห็นฝั่ง Western ค่ะ
เราโฮมสคูลลูกแบบมอนเตส กึ่งๆ Nature base (คือไม่ถึงกับ forest school)
และตอนนี้เป็นคุณครูอนุบาล ห้อง special ed. program ที่ Chicago ค่ะ (โปรแกรมสำหรับเด็กพิเศษ)
เพจที่ตามเลยเป็นแนวๆนี้

เริ่มต้นจากรูปนี้ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่คุณครูมีความเห็นว่าอย่างไรบ้าง
อรถูกสอนมาตลอดว่า ศิลปะไม่มีคำว่าผิด
และตัวอย่างทั้งสองก็ไม่มีอันไหนผิด

แต่อันไหนคือศิลปะที่ “เด็ก” ทำ
และอันไหนคือศิลปะที่ได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้สอนต้องการ
แล้วมันใช่ศิลปะที่เด็กทำจริงๆเหรอ

จริงอยู่ รูปขวา เด็กวางกระดาษ ทากาวเอง หรือแม้แต่ทำทุกอย่างเอง
แต่เป็นผลจากการตกผนึกทางความคิดของเด็กเองรึป่าว
หรือว่าผู้สอนคอยบอกคอยไกด์ว่าตัดขนาดไหนยังไง วางตรงไหน

วัว ของเด็กควรจะคล้ายกับเด็กคนอื่นรึป่าว
คลาสสอนเด็กทำอาหาร ควรจะมีแบบให้เด็กดูหรือไม่ว่าควรจะจัดจานแบบไหนยังไง

นี่เรากำลังสอนให้เด็กเป็นผู้ตาม ทำตามแบบที่ผู้ใหญ่คิดมาให้แล้ว หรือเห็นว่าดีแล้ว
นี่เรากำลังปิดกั้นจินตนาการของเด็กอยู่รึป่าว

คลาสศิลปะสำหรับเด็ก (คลาส realistic drawing ของเด็กโตไม่นับนะคะ)
จุดประสงค์ที่แท้จริงคืออะไร

Child “art” or Teacher “craft”?

อรจำความรู้สึกตอนเด็กๆได้
ทำไมคุณครูถึงไม่ชอบภูเขาสีชมพูของเรา
ทำไมคุณครูถึงมีรูปตัวอย่างการวาดวิวให้เราดูว่าเราควรจะมีพระอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างภูเขาสองลูก

มันไม่ใช่เรื่องน่าจำเลย
แต่เรากลับจำมันได้
และกลัวทุกครั้งที่จะสร้างงานศิลปะที่ฉีกจากกรอบ

โตมาถึงรู้ว่าเรา Play safe มาตลอด

อีกเรื่องที่เรานึกไม่ถึง คือสมุดภาพระบายสี
โดยส่วนตัวเราไม่เคยซื้อสมุดภาพระบายสีให้ลูกเลย
ไม่ใช่ว่าไม่มีติดบ้านนะ แค่ไม่เคยซื้อเองเลย
ทั้งหมดคือได้เป็นของฝากของขวัญจากคนที่รักเราและรักลูกเรา
แต่เราไม่เคยให้ลูกเราใช้เลย เราเอาวางไว้ที่ชั้นหนังสือ รวมๆกับหนังสือเด็กอื่นๆ
ลูกเราเปิดดู ก็ไม่เคยร้องจะระบายเพราะไม่รู้ว่ามันระบายได้
(เคยสอนไว้ว่าเราไม่ขีดเขียนบนหนังสือค่ะ แม่หวงหนังสือมากกกกก ฮ่าๆ)
และเพราะเราสอนลูกแบบมอนเตส สมุดภาพระบายสีนี่ห่างไกลจากคำว่ามอนเตสมากๆ
ปกติคือวาดบนกระดาษรีไซค์เคิล กระดาษเปล่า กล่องลัง กล่องซีเรียลไรงี้

จนมามีลูกเพื่อนมาบ้านนี่แหละ เค้าถึงเอาออกมาระบายกัน
เป็นครั้งแรกที่ลูกเราได้ระบายสีบนรูปภาพที่วาดโดยคนอื่น
และเป็นครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า “color outside the lines
side note : จริงๆมันก็มีข้อดีของมันนะคะ แต่เราคิดว่าเราสามารถฝึกกิจกรรมที่ได้ผลลัพธ์เดียวกันแต่สร้างสรรค์กว่าการบอกเด็กๆว่าห้ามระบายออกนอกเส้น

เป้าหมายของผู้ปกครองในการเลี้ยงลูก แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป
เราไม่มีเป้าหมายที่แน่ชัด เพราะเราคิดว่ามันไม่ควรเป็นการตัดสินใจของเรา

มันควรเป็นการตัดสินใจของลูกเรา
ไดโนเสาร์จะมีห้าขา ก็ไม่เห็นจะเป็นปัญหาอะไร